ย้อนอตีตยุคฟองสบู่แตก
สวัสดีค่ะท่านผู้ติดตามทุกท่านวันนี้แอ ดมินจะพาท่านมาย้อนรอยยุคฟองสบู่แตกกันนะคะ โลกของเราได้เผชิญกับเหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ มาหลายครั้งในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา วิกฤตเศรษฐกิจแต่ละครั้งได้ส่งผลเป็นวงกว้างทั้งในระดับประเทศ ระดับทวีป และทั่วโลก “วิกฤตฟองสบู่” เป็นอีกวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ซึ่งถ้าใครยังไม่รู้จักกับความเลวร้ายของวิกฤตินี้ ลองมาทำความรู้จัก และเรียนรู้วิธีในการรับมือไปพร้อมๆ กันได้ในบทความนี้เลย ฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ คืออะไร ธรรมชาติของฟองสบู่เป็นของเหลวที่ไม่สามารถลอยขึ้นไปบนอากาศได้ แต่เมื่อมีอากาศอาศัยอยู่มากก็ดันให้ฟองนั้นลอยตัวสูงขึ้น จนกระทั่งสูงถึงระดับหนึ่ง ฟองสบู่ก็จะแตกและสิ่งที่หลงเหลือก็คือความว่างเปล่า ความสูงที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสภาวะลวงตาไม่ใช่ความเป็นจริง เช่นเดียวกับฟองสบู่ในทางเศรษฐกิจ ฟองสบู่ทางเศรษฐกิจก็คือ อุปทานหรือความต้องการที่ถูกเสริมเติมแต่งขึ้นให้มากกว่าพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของตลาด เมื่อเกิดอุปทานมาก อุปสงค์จึงมากตาม แต่เมื่ออุปสงค์มากจนล้น สุดท้ายอุปทานก็สลายตัวลง เห็นได้ชัดโดยเฉพาะกับเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นวิกฤตฟองสบู่แตกที่เกิดขึ้น จนมีผลกระทับในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วย วิกฤตต้มยำกุ้งกับความพังของธุรกิจอสังหาริมทรัพท์ เหตุการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้น “ฟองสบู่” คือทรัพย์สินที่ถูกปั่นให้มูลค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริงมากจนถึงจุดแตกสลาย ในช่วงนั้นสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดมิเนียม ที่ดินในย่านธุรกิจสำคัญๆ หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถูกปั่นให้มีราคาสูงมาก เริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ดัชนีหุ้นไทยในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2537 พุ่งขึ้นสูงถึง 1,753 จุด ผู้คนต่างกระโจนลงไปในตลาดหุ้น และกว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ คนส่วนใหญ่กู้ธนาคารเพื่อลงทุนในอสังหาราคาแพงกว่าความเป็นจริงเพื่อเก็งกำไร […]